พี่แว่นโตมาจากครอบครับที่ชอบร้องรำทำเพลง คุณพ่อคุณแม่ชอบสังสรรค์รำวง เลยได้ยินเสียงเพลงมาตั้งแต่จำความได้หละครับ อยู่กับมันมาตั้งแต่นั้นหละครับ
ชนใดไร้ดนตรีกาล
ถ้าในสมัยก่อนหน่ะใช่ สมัยนี้ไม่แน่แล้วหละ
ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
ช่วงประถมจะเป็นเพลงลูกทุ่งมากซะมากกว่า เนื่องในช่วงนั้น ปีพ.ศ. 2529 – 2535 เพลงลูกทุ่งครองบ้านพี่แว่นหละครับ เท่าที่จำความได้เพลงที่ดังมากๆจะเป็น “น้ำตาเมียซาอุ” ของพิมพา พรศิริ มันดังไม่รู้จะดังยังไงครับ เพราะช่วงเวลานั้นคนไทยนิยมไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบียกันเป็นอย่างมาก ทิ้งที่นาถิ่นฐาน ที่ทำกิน ไปขุดทองที่นั่น เพลงนี้จึงเหมือนเป็น Icon ของยุคมัยนั้นอย่างแท้จริง ยาวๆไปถึงวงการเพื่อชีวิตอย่างคาราบาวก็ยังต้องมีเพลง “ซาอุดร” มาเหมือนกันครับ เพราะอย่างที่พี่แว่นบอกหละ ยุคสมัยนั้นมันต้องซาอุจริงๆครับ
ช่วงปลายของชั้นประถมจะเป็นยิ่งยง ยอดบัวงาม จะดังทะลุปรอทครับ เพลงชุดสมศรี 1992 เป็นชุดที่ทำให้วงการงานวัด งานบวช งานรำวงนั้น ต้องมีเพลงในชุดนี้อย่างแน่นอน ฟังติดหูเพราะทุกเพลงครับ ช่วงนั้นพี่แว่นก็ร้องได้แทบทุกเพลงหละครับ เพราะฟังเทปวนไปจนยานไปหมดละครับ
-ยุคสมัยของเพลงสตริง-
ขยับมาช่วงมัธยมครับ พ.ศ. 2536 – 2541 ช่วง 6 ปีนี้มีผลต่อ Taste ในการฟังเพลงของพี่แว่นมากๆครับ เพราอย฿ู่ในช่วงพีคของวางการเพลงไทยเลยก็ว่าได้ครับ พอเริ่มโตเป็นหนุ่มมันแน่หละ เพลงลูกทุ่งก็เริ่มจางหายไป เพลงสตริงเริ่มเข้ามามีบทบาทกับช่วงมัธยมต้นมาก การก่อตั้งของค่าย RS Promotion และตามมาด้วย GRAMMY ทำให้การฟังเพลงของพี่แว่นโฟกัสไปที่ค่ายใหญ่ข้างต้น เทปสองม้วนแรกในชีวิตก็เป็นของวง UHT และ Tata Young ตามมาด้วยฝั่ง RS อย่างเสือ ธนพล ,ต่อ ต๋อง ทัช ,ณ ตะกั่วทุ่ง ซึ่งฟังแล้วชอบมากคูลๆเท่ๆ
แต่ความคูลมันจะไม่คูลเลย หากเพื่อนก็ฟังเหมือนกันทั้งห้อง ! ความแปลกแยกอยากเท่ว่าข้าฟังเพลงไม่เหมือนใครก็เริ่มมาครับ เวลามันบรรจบพอดีกับช่วงอัลเทอเนทีฟกำลังจะครองเมืองแล้วครับ ร้านเทปที่สี่แยกเวียงสานั้น เริ่มมีพวกหน้าปกแปลกๆมา พี่แว่นมั่นใจว่าซื้อทุกม้วนครับ เพราะม้วนเทปยุคนั้นมันไม่แพง 35-45 บาทก็ได้พวก EP หรือซิงเกิ้ลมาฟังละครับ แถมเอามาเทิร์นได้โดยการเพิ่มเงิน 15-20 บาทแล้วเอาม้วนใหม่ไปเลย
แรกเริ่มอาจจะอยากฟังเพราะความอยากเท่ แต่ไปๆมาๆ กลายเป็นว่ามันถูกจริตกับเราอย่างมาก ความสนุกของการสุ่มซื้อเทปโดยที่ไม่รู้จักซักวงเลย การเปิดปกเทปออกมาอ่านแล้วดู Credit ของแต่ละวง แล้วบางทีแต่ละวงก็มีการ Refer ถึงกันจนเราเองก็คิดมโนปะติดปะต่อว่าวงนี้ เพื่อนวงนี้ วงนี้ยืมกีตาร์ของวงนี้ ใครแต่งเพลงนี้ บางทีก็แต่งเพลงให้กับวงเพื่อนๆกัน ซึ่งมันโคตรสนุกเลยครับ แล้วมาอัพเดทคุยกับเพื่อนๆด้วยกันจนมันส์ปาก
เบเกอรี่ซาวน์
Bakery Music
ช่วงคาบเกี่ยวที่กำลังจะขึ้น ม.ปลาย หลังจากเล่นบาสเสร็จแล้ว ก็แวะมาที่ร้านเทปร้านประจำร้านเดียวใน อ.เวียงสา พี่แว่นได้ซื้อเทปมาวงนึง เพราะหน้าปกมันแปลกดีเป็นรูปเด็กนั่งก้มหน้าปกเป็นสีขาว-ดำ เดาไม่ออกเลยว่าเป็นเพลงแนวไหน
เปิดฟังเพลงแรกเอ๊ะทำไมเสียงมันคุ้นจังวะ เพลง “รักคุณเข้าแล้ว” มันเหมือนเสียงนักร้องนำ Moderndog มากๆ (ตอนนั้นฟัง MD มาก่อนหน้าแล้วครับ) แล้วแต่ละเพลงก็เพราะมาก เพราะจนเราขนลุกแล้วเกิดคำถามว่าใครคือบอยด์ โกสิยพงษ์ เค้าร้องแค่เพลงเดียวคือเพลง “จะเก็บเธออยู่ในใจเสมอ” และแต่งเพลงเองทั้งหมดอัลบัม
บ้าไปแล้ว!! พี่แว่นอุทานขึ้นมาในหัว เค้าคือใครกันมันเกิดคำถามและทำให้เราอยากหาคำตอบมากๆ ว่าเค้าคือใคร?
แต่พี่แว่นก็จำไม่ได้ครับ ว่าทราบได้ยังไงว่าพี่บอยด์ โกสิยพงษ์นั้นเป็นเจ้าของค่ายร่วมกับ 3 ทหารเสือรวมเป็น 4 ทหารเสืออย่างพี่สุกี้กมล สุโกศล แคลปป์ ,พี่เอื้องสาลินี ปันยารชุน และ Z-Mix สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ มันคือปรากฏการณ์แห่งวงการเพลงเลยก็ว่าได้ครับ การที่ Bakery Music ก่อตั้งขึ้นมานั้น ทำให้ค่ายใหญ่อย่าง RS หรือ GRAMMY นั้นไม่มีทางสู้ได้เลย เพราะการนำเสนอนั้นมันต่างกันโดยสิ้นเชิง
การทำเพลงแบบใครก็ได้ก็สามารถออกเทปได้ ณ ตอนนั้น ทำให้มีวงดนตรีเกิดขึ้นมาอย่างกะดอกเห็ด บ้างก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้างปะปนกันไป แต่ Bakery Music นั้นแตกต่างกับค่ายอินดี้ต่างๆครับ คุณภาพมันเต็มแก้วจริงๆครับ แล้วมีอัลบัมที่ขึ้นหิ้งมากมายอย่าง “เสริมสุขภาพ” ของ Moderndog หรือจะเป็นชุด Rhythm & Boyd มันทำให้วงการดนตรีในช่วงนั้นมีอิสระในการนำเสนอแบบสุดๆ วงอินดี้ได้ออกทีวีช่วงหลังข่าว เท่าที่จำได้ก็เป็นวงเออ ที่เอา MV มาออกอากาศหลังข่าวกันเลยทีเดียว
พี่แว่นยอมรับว่าช่วงนั้น เป็นช่วงที่มีความสุขกับชีวิตมากๆครับ มันไม่ต้องรับผิดชอบอะไรนอกจากเรื่องเรียน นอกนั้นก็ใช้ชีวิตตามใจเราเองได้เลย มีข้อแม้ที่พ่อแม่ได้ขอไว้อย่างเดียวคือแค่ไม่ยุ่งกับยาเสพย์ติดก็พอครับ
ไว้มาต่อตอนที่ 2 กันนะครับ
-ช่วงมหาวิทยาลัย–